ส.1 การสืบค้น

วิสาหกิจชุมชนศูนย์วิสาหกิจชุมชนผลิตพันธุ์พืชบ้านพระแก้ว 84 หมู่ที่ 10 ตำบลแพรกศรีราชาอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

วิสาหกิจชุมชน คือ การประกอบการโดยคนในชุมชนเพื่อการจัดการ "ทุน" ของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองการพึ่งตนเองและความพอเพียงของครอบครัวและชุมชน





















ที่มาภาพ : www.sceb.doae.go.th

ประเภทของวิสาหกิจชุมชน
1.วิสาหกิจชุมชนพื้นฐาน ผลิต แปรรูปการดำเนินการต่างๆเพื่อกินเพื่อใช้ในครอบครัว
ในชุมชนเพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
2.วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้าการดำเนินการอย่างเป็นระบบและด้วยรูปแบบ
ที่ทันสมัยใช้ทุนและเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองชุมชน เครือข่าย และตลาดในวงกว้าง




ภาพตัวอย่าง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน วิชาการทำปอเปี๊ยะทอด กศน.ตำบลปลาปาก

องค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชน
1.ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ
2.ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน
3.ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน
4.มีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากล
5.มีการดำเนินการแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ อย่างมีระบบ
6.มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจ 

วิสาหกิจชุมชนแตกต่างจากธุรกิจอื่นอย่างไร
ธุรกิจอื่นส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาผลกำไรเป็นหลักและ
อาจจะไม่ให้ความสำคัญต่อผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและสังคมเท่าที่ควร
แต่วิสาหกิจชุมชนเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจและสังคม
ของชุมชนเป็นการประกอบการบนพื้นฐานการใช้ความรู้ ภูมิปัญญา
วัฒนธรรม และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างรู้คุณค่า
เพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน
โดยมุ่งประโยชน์ทางสังคมแก่ชุมชนมากกว่าการแสวงหากำไรสูงสุด
มุ่งต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบการมีสุขภาพอนามัยและ
คุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนและมุ่งต่อการรักษาระบบนิเวศน์ของสังคมโดยรวม


เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
หมายถึง คณะบุคคลที่รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกิจกรรมอย่างหนึ่ง
อย่างใดเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน
ในเครือข่ายในขณะที่ชาวบ้านทั่วไปและองค์กรพัฒนาเอกชน
ใช้คำนี้เพื่อหมายถึงองค์กรชุมชนต่างๆที่สัมพันธ์กันเป็นเครือข่าย

ความเป็นมาของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 เกิดจากการนำเสนอ
ของตัวแทนเครือข่ายองค์กรชุมชนทั่วประเทศ ร่วมกับมูลนิธิหมู่บ้าน
และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อต้นปี พ.ศ.2544 เพื่อรองรับกระแสการเคลื่อนตัว
ของกระบวนความคิดในการประกอบวิสาหกิจเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน
และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งตัวแทนเครือข่ายองค์กรดังกล่าว
ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็น"คณะกรรมการพิจารณายกร่าง
พระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน พ.ศ...." ในคราวที่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา
ยกร่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้ชื่อร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า
"ร่างพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน พ.ศ......" แต่เมื่อทำการพิจาณายกร่างได้
เปลี่ยนมาใช้ชื่อ"ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนพ.ศ....") ซึ่งคณะกรรมการ
ได้ดำเนินการพิจารณายกร่างแล้วเสร็จเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและที่ประชุมคณะรัฐมนตร
ีได้มีมติอนุมัติหลักการ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 ตามที่กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์เสนอภายหลังจากมีมติอนุมัติหลักการคณะรัฐมนตรีได้ส่งร่างฯไปยัง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจพิจารณา รายละเอียดตาม ขั้นตอน
ของกฎหมาย และต่อมาได้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาผ่านกระบวนการ
พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบ
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธย
เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 โดยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 122
ตอนที่ 6ก เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา คือ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2548 เป็นต้นไป

กรมส่งเสริมการเกษตรกับบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม
วิสาหกิจชุมชนสถานภาพ
1.กรมส่งเสริมการเกษตร ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
2.อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ
ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
3.ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตรหนึ่งคน ซึ่งอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
เป็นผู้แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
(ผู้แทนกรมการพัฒนาชุมชนอีกหนึ่งคนซึ่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนแต่งตั้ง
เป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน)
4.เกษตรจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
จังหวัดทุกจังหวัด (รวมทั้งกรุงเทพมหานคร)

บทบาท
1.กรมส่งเสริมการเกษตร รับผิดชอบงานด้านธุรการ งานประชุม
การศึกษาข้อมูลและกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการ
ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
2.สำนักงานเกษตรจังหวัด ทำหน้าที่และรับผิดชอบงานตาม (1)
ที่เกี่ยวข้องกับงานของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัด (รวมทั้งกรุงเทพมหานคร)

หน้าที่และความรับผิดชอบ
กรมส่งเสริมการเกษตรและสำนักงานเกษตรจังหวัด มีหน้าที่และความรับผิดชอบ
ในงานด้านธุรการ งานประชุม การศึกษาข้อมูล
และกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
และคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548มีบทบัญญัติไว้ชัดเจนเกี่ยวกับ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและการดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
ดังปรากฏในตารางแสดงประเด็นการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

ภาพตัวอย่างแสดง โครงสร้างการบริหารเครือข่าย


ที่มาภาพ : www.drchalard.com


____________________________________________________________________


ข้อมูลเทั่วไปเกี่ยวกับ ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

ประวัติความเป็นมา ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
เมืองแพรกศรีราชาเป็นเมืองโบราณ ถ้าพิจารณาย้อนหลังน่าจะอยู่ในสมัยทวารวดี เนื่องจากมีการค้นพบชิ้นส่วนของศิลปวัตถุแบบทวารวดีหลายชิ้น ซึ่งมีผู้นำมาไว้ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่หน้าศาลหลักเมือง วัดมหาธาตุ เมืองสรรคบุรี ฐานพระพุทธรูปและชิ้นส่วนของพระพุทธรูปแบบทวารวดีทำด้วยหินปูน เมืองแพรกศรีราชาเป็นชื่อเมืองที่ปรากฎในศิลาจารึกกรุงสุโขทัย หลักที่ 1 ว่า "เมืองหัวนอนรอดกณฑีพระบางแพรกสุพรรณภูมิราชพี"ต่อมาชื่อเสียงแพรกศรีราชาหายไปปรากฎชื่อสรรคบุรีแทน ในตำนานพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ อายุของเมืองที่เจริญสมัยเดียวกับ สุพรรณภูมิ เมืองลพบุรี เมืองสุโขทัย และเมืองอโยธยา ผังของเมืองซับซ้อนแสดงถึงเป็นเมืองใหญ่ที่อยู่ต่อเนื่องมานานบริเวณเมืองเป็น 2 ตอน บริเวณด้านเหนือ เหลือเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ที่วัดตะโหนดหลายแห่ง บริเวณด้านใต้เป็นที่ตั้งของวัดมหาธาตุ วัดสองพี่น้อง




สภาพทั่วไปของตำบล
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มในเขตชลประทานเขื่อนเจ้าพระยา ตอนบนสภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียวและดินร่วมปนทราย มีแม่น้ำน้อยไหลผ่าน พื้นที่ประมาณ 45,350 ไร่

อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดกับ ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท
ทิศใต้ ติดกับ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.เที่ยงแท้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.วังไก่เถื่อน อ.หันคา จ.ชัยนาท
จำนวนประชากรของตำบล 
จำนวนประชากรในเขต อบต. 13,043 คน และจำนวนหลังคาเรือน 3,833 หลังคาเรือน
ข้อมูลอาชีพของตำบล
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่ รับจ้าง 
อาชีพเสริม หัตถกรรม อุตสาหกรรมในครัวเรือน
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล
1) ที่ว่าการอำเภอ 1 แห่ง
2) เทศบาลตำบล 1 แห่ง
3) โรงเรียนมัธยม 1 แห่ง
4) ธนาคาร 4 แห่ง
5) โรงพยาบาล 1 แห่ง
6) สถานีตำรวจภูธรฯ 1 แห่ง
7) ที่ทำการโปรษณีย์ฯ 1 แห่ง
8) สถานีอนามัย 2 แห่ง
9) สำนักงานที่ดินฯ 1 แห่ง
10) ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง
11) ที่ทำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 แห่ง
12) ที่ทำการองค์การโทรศัพท์ 1 แห่ง
13) วัด 15 แห่ง
14) โรงเรียนประถม 8 แห่ง


____________________________________________________________________


ข้อมูลวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน


ชื่อศูนย์วิสาหกิจชุมชนผลิตพันธุ์พืชบ้านพระแก้ว
รหัสทะเบียน1-18-05-01/1-0007
ที่อยู่เลขที่ 84 หมู่ที่ 10 ถนน - ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
โทรศัพท์
โทรสาร
ผู้มีอำนาจทำการแทน :
1
นางประไพศรี ชื้นสาต




ศูนย์ปราชญ์เกษตร
ศูนย์ ฯ เมล็ดพันธุ์พืชบ้านวัดพระแก้ว จังหวัดชัยนาท
*****
กิจกรรมเด่น
ผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ข้าว และถ่ายทอดความรู้การเกษตร
จัดตั้งเมื่อ วันที่ เดือน พ.ศ.
เจ้าของ/ผู้ดูแล 
พ.จ.ท. เฉลียว น้อยแสง โทรศัพท์ 08-6205-9124
E-mail: - เว็บไซต์ -
ที่อยู่ เลขที่ 42/3 หมู่ที่ 10 ต าบลแพรกศรีราชา อ าเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท รหัสไปรษณีย์ 17140

เจ้าหน้าที่ผู้ประสาน
นายสุทิน จันอิน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ โทรศัพท์08-0608-8865
ส านักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท โทรศัพท์ 0-5647-6720 โทรสาร 0-5642-1513
E-mail : chainat@doae.go.th
บ้านพักประธานศูนย์ ฯ ประธานศูนย์ ฯ แปลงพันธุ์ผัก
สมุนไพรและไม้ผล แปลงเมล่อนและแคนตาลูป สวนผสมผสานพืชพันธุ์ไม้





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น