วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

แปลสรุปข่าว

CONEJO VALLEY JEWELS

Wesley, a designer and brand manager from Brazil, recently created the branding identity for a jewelry store located in Conejo Valley geared at showcasing the brand’s elegance and luxury. In Spanish “Conejo” translates to “Rabbit” and Wesley uses the symbol of a rabbit and of jewels themselves to create a truly unique identity design.

































Identity design for jewelry business, the company is beleaguered in conejo valley -USA target is middle-class consumers,compound per 70% female and 30% male the age between 25-45 years old.
the shopper consumes for the anniversaries,weddings and women for yourself














ที่มา : https://www.behance.net/gallery/jewelry-store-identity/10102993?utm_source=CMGuestPost&utm_medium=link&utm_campaign=EnfuzedGuestPost


สรุปผลการเรียนรู้ วันพุธที่ 24 กันยายน 2557 (ครั้งที่6)

แปลสรุปข่าวประจำสัปดาห์
-Pact ได้แรงบรรดาลใจจากไมเสทใช้โทนสีเพื่อสื่ออารมณ์ความรู้สึก
-Diker บริษัทการออกแบบสถาปัตยกรรม

แนะแนวเกี่ยวกับการเรียนการสอน
-แนะแนวเกี่ยวกับการจัดการไฟล์ ให้เป็นสัดส่วน
Alternate design
fine art work
rester stock
vactor stock
-แนะแนวเกียวกับขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ การวางแผน การทำ Visual Analysis

สรุปผลการเรียนรู้วันพุธที่ 17 กันยายน 2557 (ครั้งที่ 5)

แปลสรุปข่าวประจำสัปดาห์
-Tamarindo ได้แรงบัลดาลใจจากมะขาม การเล่นคำ

แนะแนวเกี่ยวกับการเรียนการสอน
-อธิบายเกี่ยวกับการสร้าง Artwork ที่ถูกต้อง Corp mark เผื่อการตัดเนื้องาน เผื่อตัดตกประมาณ 3-5มิลิเมตร
















Crop Mark หรือใส่ตัดตกสำหรับจัดอาร์ตเวิร์ค ให้พร้อมพิมพ์ และลดการผิดพลาด การจัดเตรียมอาร์ตเวิร์คถ้า หากเราต้องการให้ขอบของงาน หรือตัดตก ซึ่งหมายถึงขอบตัดเจียนของงาน เช่นตัดขอบริมของหนังสือ ควรออกแบบให้เนื้อหางานที่สำคัญ ที่ต้องการให้อยู่ในงาน อยู่เข้ามาในเนื้อกระดาษ ห่างจากขอบงานทั่วไป อย่างน้อย 3-5 มิลลิเมตร ซึ่งแล้วแต่ความหนาของหนังสือ เพราะถ้าหนามาก เป็นมุงหลังคาอาจต้องถึง 1 ซม. …เพราะเนื้อในที่อยู่ในสุดจะล่นออกมาข้างนอกมากกว่า โอกาสจะเจียนขอบงาน เลยเข้ามาในเนื้องานก็มีมากและที่สำคัญถ้าเป็นไปได้ ผู้ออกแบบควรจัดการดึงตัดตกหรือ Crop Mark ด้วยตนเองก็จะช่วยให้ เห็นขอบเจียนตัดตกที่ตนเองต้องการได้แน่นอน ….เพราะหากผู้ออกแบบงานไม่ดึงตัดตกมา ก็เป็นหน้าที่ของโรงพิมพ์ต้องจัดทำตัดตกให้ ซึ่งบางครั้งต้องดึงขยายภาพ หรือตัว…หนังสือให้เลยออกมานอกกระดาษ เพื่อเผื่อเจียน อาจทำให้ตัดตกที่เจียน ไปตัดโดนภาพ หรือตัวหนังสือ ที่ผู้ออกแบบต้องการให้ปรากฎในงาน …ส่วนวิธีการดึงเผื่อตัดตกก็คือ ในหน้ากระดาษโปรแกรม ออกแบบที่เราใช้ ถ้าสมมุติเป็นเอ 4 งานที่สำเร็จจะอยู่ใน เอ 4 แต่เราต้องดึงขยายส่วน ที่ตัองเจียนทิ้งให้เลยออกมา นอกกระดาษ 3 มิลลิเมตร แล้วเราก็ดูที่ขอบกระดาษ เอ 4 คือส่วนที่ตัดทิ้งดังนั้นเราจะมั่นใจได้ว่า เรากำหนดขอบเขตตัดเจียนเอง ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของโรงพิมพ์ ซึ่งอาจไม่ตรงกับใจของผู้ออกแบบก็เป็นได้
















สรุปผลการเรียนรู้วันพุธที่ 10 กันยายน 2557 (ครั้งที่4)

แปลสรุปข่าวประจำสัปดาห์
-Diker Bav บริษัทก่อสร้างเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม
-Berandodk กาแฟอินทรีย์ ได้แรงบัลดาลใจมาจากรากของต้นบรูซ แบ่งสีตามรสชาติของกาแฟ
-RIPRISM เกี่ยวกับน้ำยาทาเล็บได้แรงบัลดาลใจจากปริซึมให้ได้มุมมองและเฉดสีที่หลากหลาย

แนะแนวเกี่ยวกับการเรียนการสอน
-การวิเคราะตัวบรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ ตีความหมายการแยกแยะคำ  ฟอนต์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง และข้อมมูลการผลิตต่างๆ นำมาวิเคราะห์ถึงความเหมาะสม
-การพิมพ์เบอร์โทรลงในบรจุภัณฑ์ในแบบที่ถูกต้อง ไม่มีขีด
-ทำ Art work ของต้นแบบ ทั้งสี และขาว,ดำ

สรุปผลการเรียนรู้วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2557 (ครั้งที่3)

แปลสรุปข่าวประจำสัปดาห์
-Blickfang Medie ใช้แบบกล้องฟิล์มมาออกแบบโดยใช้ตัว B สื่อถึงชื่อทางบริษัทว่าทำเกี่ยวกับอะไร
-Berlimo เป็นการนำเอาสถาปัตยกรรมกับเครื่องมือช่างต่างๆมาผสมเข้าด้วยกัน
แนะแนวเกี่ยวกับการเรียนการสอน
-การจดทะเบียนการค้า หรือแบรนด์
ส.1 การสืบค้น เกี่ยวกับการจดทะเบียนการค้า หรทอแบรนด์ (ข้าว)
ศึกษาจากเว็บไซต์การเกษตร
-ให้ทำส.1การสืบค้น เกี่ยวกับพันธ์ุข้าว ข้อมูล ประวัติความเป็นมา และการแปรรูปข้าว ทำ Visual Analysis
-ส.2 สมมติฐาน เขียนแบบ sketch idea ทำ Label แบบฉลากมา ข้าว1 กิโลกรัม และนำเสนอิาจารย์เกี่ยวกับแนวคิด

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การจดทะเบียนการค้า



การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า




ที่มา : http://www.idgthailand.com/


เครื่องหมายการค้า
หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543


ประเภทของเครื่องหมายการค้า



















มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. เครื่องหมายการค้า ( Trade Mark ) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
2. เครื่องหมายบริการ ( Service Mark ) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน
ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
3. เครื่องหมายรับรอง ( Certification Mark ) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
4. เครื่องหมายร่วม ( Collective Mark ) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น


การได้มาซึ่งสิทธิในเครื่องหมาย
ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า มิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะต้องนำเครื่องหมายการค้าที่คิดขึ้น ไปทำการจดทะเบียนเสียก่อน จึงจะได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้
ลักษณะของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมที่จะ
จดทะเบียนได้ จะต้องมีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย โดยประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ
มีลักษณะบ่งเฉพาะ คือ มีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อสินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างจากสินค้าอื่น เช่น เป็นรูปหรือคำที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น ลายมือชื่อหรือภาพของผู้เป็นเจ้าของ เป็นต้น
ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น ธงชาติ เครื่องหมายราชการ พระบรมฉายาลักษณ์ เป็นต้น
ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าที่จะจดทะเบียนนั้น จะต้องไม่เหมือนกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือคล้ายกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจจะทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดสินค้า โดยพิจารณาจาก คำเสียงเรียกขาน รูปหรือภาพและการประดิษฐ์ของเครื่องหมาย เป็นต้น

ระยะเวลาที่ให้การคุ้มครอง
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว มีอายุความคุ้มครอง 10 ปี เมื่อจะครบกำหนดสามารถที่จะต่ออายุได้เป็นคราว ๆ คราวละ 10 ปี

หน้าที่ของเครื่องหมายการค้า


เครื่องหมายการค้าหนึ่ง ๆ มักจะทำหน้าที่โดยทั่วไปอยู่4ประการ ดังต่อไปนี้
1. หน้าที่ในการบ่งชี้และแยกแยะตัวสินค้า
2. หน้าที่ในการบ่งบอกแหล่งที่มาของสินค้า
3. หน้าที่ในการบ่งบอกคุณภาพของสินค้า
4. หน้าที่ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์




ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย

การตรวจค้น
1. แนะนำให้ผู้ยื่นดำเนินการตรวจค้นเครื่องหมายที่จะขอจดว่าเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมาย ของผู้อืนหรือไม่ 2. ผู้ค้นต้องเสียค่าธรรมเนียมในการตรวจค้น 100 บาท/1 ชั่วโมง
การยื่นขอจดทะเบียน
1. ผู้ยื่นต้องเตรียมเอกสารตามที่กฎหมายกำหนดและกรอกข้อความให้สมบูรณ์ ได้แก่ - คำขอจดทะเบียน (ก. 01) พร้อมสำเนา จำนวน 10 แผ่น - การ์ด (ก. 16) จำนวน 2 แผ่น - หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามีการมอบอำนาจ) ติดอากร 30 บาท ต่อผู้รับมอบอำนาจ 1 คน - สำเนาบัตรประจำตัว (ถ้าผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา) - ต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน6 เดือน นับจนถึงวันยื่นคำขอ (ถ้าผู้ขอเป็นนิติบุคคล) - ถ้าผู้ขออยู่ต่างประเทศให้โนตารี พับลิครับรองเอกสารด้วย - รูปเครื่องหมายจำนวน 10 รูป 2. ยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม 500 บาท ต่อสินค้า/บริการ 1 อย่าง

การตรวจสอบ
1. ในขั้นแรกเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเบื้องต้น (Preliminary check) คือตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเท่านั้น (Documentary check) 2. ต่อมาเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและนายทะเบียนจะตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียน มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ กล่าวคือ - ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ - ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและ - ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของผู้อื่นในชั้นนี้จะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 3 เดือน ต่อ 1 คำขอ 3. ภายหลังตรวจสอบแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบผลการตรวจสอบดังต่อไปนี้ ตามแต่กรณี - การรับจดทะเบียน - ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียน - ให้แก้ไขคำขอ - แจ้งผู้ยื่นคำขอว่า เครื่องหมายที่ขอจดทะเบียน มีผู้อื่นยื่นขอจดทะเบียนไว้เช่นกัน ขอให้ผู้ยื่น ไปตกลงกันเองก่อน

การแจ้งให้แก้ไขคำขอ
ผู้ขอจดทะเบียนต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ผิด ระบุข้อความไม่ครบถ้วน ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ฯลฯ โดยคิดค่าธรรมเนียมคำขอละ 200 บาท

การแจ้งให้ตกลงกันก่อน
1. ถ้าผู้ยื่นคำขอตกลงกันได้ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าใครได้สิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นไป เจ้าหน้าที่จะดำเนินการประกาศโฆษณาต่อไป 2. ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถตกลงกันได้คำขอจดทะเบียนที่ยื่นก่อนจะได้รับการจดทะเบียน ตามหลัก ใครยื่นก่อนมีสิทธิดีกว่า (first-to-file)

การแจ้งไม่ปฏิเสธคำขอ
1. เจ้าหน้าที่จะดำเนินการประกาศโฆษณาต่อไป 2. บางกรณีเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอสละสิทธิในคำขอบางส่วนเนื่องจากบางส่วนของ เครื่องหมายเป็นสิ่งที่ใช้กับสามัญในการค้าขายหรือไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ - ถ้าผู้ยื่นคำขอยอมสละสิทธิ ผู้ยื่นคำขอต้องแจ้งนายทะเบียนทราบ - ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับนายทะเบียน ผู้ยื่นคำขออาจดำเนินการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่ง โดยชำระค่าธรรมเนียมการอุทธรณ์คำขอฉบับละ 2,000 บาท

การแจ้งปฏิเสธ
1. ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่อุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ นายทะเบียนก็จะจำหน่ายคำขอนั้น ออกจากสารบบ 2. ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการยื่นคำอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่รับหนังสือแจ้งคำสั่ง โดยชำระค่าธรรมเนียมคำขอฉบับละ 2,000 บาท 3. เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยแล้ว จะแจ้งคำวินิจฉัยให้นายทะเบียน ทราบดังนี้ - ถ้าวินิจฉัยเห็นควรให้จดทะเบียน นายทะเบียนจะดำเนินการประกาศโฆษณาต่อไป - ถ้าวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียน นายทะเบียนจะจำหน่ายคำขอจดทะเบียนออกนอกสารบบและคำวินิจฉัย ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าถือเป็นที่สุด

การประกาศโฆษณา
1. ถ้านายทะเบียนเห็นสมควรรับจดทะเบียน นายทะเบียนมีคำสั่งประกาศโฆษณาคำขอ จดทะเบียนและมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนมาชำระค่าธรรมเนียมประกาศโฆษณาคำขอละ 200บาท ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง - ถ้าไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วันถือว่าละทิ้งคำขอ - เมื่อชำระค่าธรรมเนียมแล้ว นายทะเบียนจะประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนและจะรอ การประกาศเอาไว้ 90 วัน - ถ้าไม่มีการคัดค้านการจดทะเบียนเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายนั้น ต่อไป - ถ้ามีการคัดค้านการจดทะเบียน โดยเหตุหนึ่ง เหตุใดเช่น เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะ ที่จดทะเบียนได้, เครื่องหมายการค้าไม่ได้เป็นของผู้จดทะเบียน หรือการจดทะเบียน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้านต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าหน้าที่พร้อมแสดงหลักฐาน และเหตุผล และชำระค่าธรรมเนียมค่าคำคัดค้าน 1,000 บาท 2. เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบว่ามีบุคคล คัดค้านการจดทะเบียนคำขอนั้น - ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะโต้แย้งการคัดค้านนายทะเบียนจะจำหน่ายคำขอออกจากสารบบ - ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะโต้แย้งการคัดค้านให้ยื่นคำโต้แย้งต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาการคัดค้าน 3. นายทะเบียนจะพิจารณาในประเด็นที่คัดค้านนั้น เมื่อมีคำวินิจฉัยแล้ว จะแจ้งไปให้คู่กรณีทราบ 4. คู่กรณีที่เสียประโยชน์อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนได้โดนยื่นคำอุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียน โดยชำระค่าธรรมเนียมคำขอฉบับละ2,000 บาท 5. เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยแล้วนายทะเบียนจะแจ้งผลการวินิจฉัยของ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้แก่คู่กรณีทราบ 6. ถ้าคู่กรณีฝ่ายที่เสียประโยชน์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ผู้นั้นอาจนำคดีขึ้นฟ้องศาลได้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ทราบผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า

การจดทะเบียน
1. เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เมื่อผ่านการตรวจสอบจากนายทะเบียนและได้ประกาศโฆษณาแล้ว และผ่านกระบวนการคัดค้านและอุทธรณ์ จนถึงที่สุด เป็นเครื่องหมายที่สามารถจดทะเบียนได้ นายทะเบียนจะแจ้งไปยังผู้ยื่นคำขอทราบให้ดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเจ้ง 2. เมื่อผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียม ผู้ยื่นคำขอจะได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน โดยชำระค่าธรรมเนียมสินค้าหรือบริการอย่างละ 300 บาท


สรุป
การจดทะเบียนการค้า คือ เครื่องหมายรับรองหรือการแสดงความเป็นเจ้าของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการนั้นๆซึ่งได้รับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วว่าสามารถใช้ตราสัญลักษณ์นี้เพื่อการขายสินค้าและบริการได้




ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://thaitrademark.blogspot.com/p/knowlead.html

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนวันพุธที่ 26 สิงหาคม 2557 (ครั้งที่2)

แนะแนวเกี่ยวกับการเรียนการสอน

-เรื่องการเดินทางในวันที่ 19 กันยายน 2557 ลงพื้นที่สำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ วิสาหกิจชุมชนแปรรูป    ข้าว จังหวัดชัยนาท
-ชี้แจงเกี่ยวกับ การแปลสรุปข่าวของแต่ละอาทิตย์ ควรมีเนื้อหา ความสำคัญและ ที่มาของข่าวนั้นๆเพื่อที่  จะสื่อสารให้ผู้ฟังได้เข้าใจเนื้อหาอย่างชัดเจน
-ชี้แจงเกี่ยวกับบลอก หัวข้อบล็อกและเพิ่มคำอธิบายบลอกดังนี้ เว็บบลอกสนับสนุนการเรียนรู้วิชาการ  ออกแบบอัตลักษณ์ ARTD2307 โดยนางสาวบุญญานุช  วิชาชัย รหัสนักศึกษา 5511302597
-ชี้แจงเกี่ยวกับการสร้างหน้าเว็บ ส.1 การสืบค้น ซึ่งเป็นหน้าเว็บแสดงผลการเรียนรู้เกี่ยวกับรายวิชา
-ให้แต่ละกลุ่มศึกษาหาข้อมมูลเกี่ยวกับการแปรรูปข้าว ของแต่ละอำเภอที่อาจารย์ได้จัดสรรค์ไว้
 โดยแต่ละกลุ่มจะแบ่งได้ดังนี้

กลุ่มที่1
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ
23 หมู่ที่ ๑๒ ตำบลนางลือ อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท

กลุ่มที่2
วิสาหกิจชุมชนเกษตรร่วมใจ
๑๐ หมู่ที่ ๕ ตำบลท่าชัย อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท

กลุ่มที่3
วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านวังยาว
69 หมู่ที่ 9 ต.เที่ยงแท้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

กลุ่มที่4
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผลิตข้าวปลอดภัยบ้านคลองรี่
๔ หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

กลุ่มที่5
วิสาหกิจชุมชนศูนย์วิสาหกิจชุมชนผลิตพันธุ์พืชบ้านพระแก้ว
84 หมู่ที่ 10 ตำบลแพรกศรีราชาอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

กลุ่มที่6
วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวคุณภาพ
83/2 หมู่ที่ ๑ ตำบลสะพานหิน อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

กลุ่มที่7
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและข้าว
40 หมู่ 8 ตำบลสุขเดือนห้าอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท

-ให้แต่ละกลุ่มไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอำเภอที่ตนได้
-ให้ทุกคนตั้งชื่อและ sketch Logo หรือตราสัญลักญณ์เกี่ยวกับอำเภอของแต่ละกลุ่ม (ตกลงกันภายในกลุ่ม)

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน
-สมุดจดบันทึก
-สมุดสเก็ต
-สมุดลายเส้นหรือสมุดกราฟ
-ดินสอ2b
-ไม้บรรทัด
-โน้ตบุค