วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของการออกแบบอัตลักษณ์, Brand หมายถึงอะไร, เครื่องหมายและสัญลักษณ์หมายถึงอะไร

การออกแบบอัตลัษณ์ (Identity)

การออกแบบ (design)
การออกแบบ คือ การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบและคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา เช่น เราจะทำเก้าอี้นั่งซักตัวจะต้องวางแผนไว้เป็นขั้นตอนโดยต้องเริ่มเลือกวัสดุที่จะใช้ทำเก้าอี้นั้นจะใช้วัสดุอะไรที่เหมาะสม วิธีการต่อยึดนั้นควรใช้กาว ตะปูนอต หรือใช้ข้อต่อแบบใด คำนวณสัดส่วนการใช้งานให้เหมาะสม ความแข็งแรงของเก้าอี้นั่งมากน้อยเพียงใด สีสันควรใช้สีอะไรจึงจะสวยงาม และทนทานกับการใช้งาน

อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึงคุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของบุคล สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่น และศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่ทั่วไปหรือสากลกับสังคม อื่นๆ พูดง่ายๆ คือลักษณะที่ไม่เหมือนกับของคนอื่นๆซึ่งจะมีลักษณะที่คงทนถาวร
อัตลักษณ์ มาจากภาษาบาลีว่า อตฺต + ลักษณ โดยที่ “ อัตตะ ” มีความหมายว่า ตัวตน, ของตน ส่วน “ ลักษณะ ” หมายถึง สมบัติเฉพาะตัว หากมองเพียงแค่รูปศัพท์ “ อัตลักษณ์ ” จึงเหมาะจะนำมาใช้














สรุป 
การออกแบบอัตลักษณ์คือการออกแบบสิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะหรือบ่งชี้ลักษณะเฉพาะเช่น ตราสินค้าต่างๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วย รูปแบบ สีสัน โลโก้และสัญลักษณ์ เพื่อทำให้เป็นที่จดจำและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายออกไป

แหล่งอ้างอิง ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20120512060637AASrqNA

_____________________________________________________________________


แบรนด์ (Brand)

แบรนด์ หรือ ยี่ห้อ (Brand) เป็นรูปแบบของภาพพจน์และแนวความคิด ในรูปอัตลักษณ์ คำขวัญ และผลงานออกแบบ ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ทั้งยังเป็นข้อมูลเชิงมโนธรรม ที่แสดงออกทางรูปธรรมด้วยสัญลักษณ์ ที่สื่อถึงบริษัท สินค้า บริการ หรือกลุ่มผู้ขาย ที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน การสร้างตราสินค้า ให้เป็นที่จดจำของลูกค้า เกิดขึ้นได้จากการโฆษณา การบอกต่อ การออกแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ในปัจจุบัน การสร้างตราสินค้า กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรม และปรัชญาการออกแบบ
ตราสินค้า ประกอบด้วย ชื่อตราสินค้า (Brand name) หรือ (ชื่อ)ยี่ห้อ
คือส่วนที่สามารถอ่านออกเสียงได้ และ เครื่องหมายตราสินค้า (Brandmark) คือส่วนที่ไม่สามารถอ่านออกเสียงได้ แต่สามารถจดจำได้ อาทิสัญลักษณ์ รูปแบบ สีสัน ตัวอักษรประดิษฐ์ เสียง เป็นต้น หากเป็นภาพสัญลักษณ์อย่างเดียว ส่วนนี้อาจเรียกว่าเป็นตราเครื่องหมาย (Logo) ได้เช่นกัน
อธิบายตามตารางด้านล่างเพื่อให้ง่ายต้อการทําความเข้าใจ
Product = สิ่งที่สามารถจับต้องได้ (Tangible) 
Brand = สิ่งที่สามารถจับต้องได้ + ความรู้สึก (Tangible + Feeling) 














สรุป
แบรนด์ (Brand) คือ ชื่อสัญลักษณ์หรือโลโก้ ของอะไรอย่างหนึ่งที่จะบอกว่าสินค้าหรือบริการนั้นๆ เป็นของใคร และแตกต่างจากคู่แข่งทางการตลาดอย่างไรและแบรนด์หรือโลโก้นั้นสามารถที่จะตอบโจทย์ต่างๆของลูกค้าได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยของยุคสมัย ราคา คุณประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งจะสามารถสร้างความไว้วางใจแก่ผู้บริโภคได้


แหล่งอ้างอิง ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่ : http://drwarat.blogspot.com/2010/11/1-brand-communication.html,  http://utcc2.utcc.ac.th/brandthaicenter/doc/article_bubpa.pdf


_____________________________________________________________________


เครื่องหมายและสัญลักษณ์ (symbol)

เครื่องหมาย คือ สิ่งที่ทําขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจําหรือกําหนดรู้
ตราสัญลัญณ์ คำ Logo ตัดทอนมาจาก Logotype หมายถึงเครื่องหมาย ตรา สัญลัญณ์ ซึ่งสื่อความหมายเฉพาะถึงส่วนต่างๆเช่น ส่วนราชการ มูลนิธิ สมาคม บริษัท ห้างร้าน อาจจะเป็นตัวอักษรหรือรูปภาพ หรือทั้งสองอย่างประกอบกัน
-สัญลักษณ์บ่งบอกความเป็นเจ้าของ คือสัญลักษณ์ทางธุรกิจที่เป็นเครื่องหมายแทน บริษัท ห้างร้านหรือไม่เกี่ยวกับธุรกิจสถาบัน ซึ่งมีความหมายคล้ายกับเครื่องหมายการค้า (Trademark)และตรา (Logo)
-สัญลักษณ์สื่อความหมาย คือสัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพซึ่งคนในสังคมเรียนรู้มานาน และเข้าใจความหมายโดยอ้อมนั้น แม้รูปนั้นจะไม่สัมพันธ์ถึงความหมายโดยตรงก็ตาม เช่น รูปเครื่องหมายบวกสีแดง ไม่ใช่การบวก แต่เป็นตัวแทนของสัญลักณ์พยาล หรือกาชาด










สรุป
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ คือ ตราสักษญณ์ที่สื่อความหมายถึงสถานที่เฉพาะอย่าง บริษัท ห้างร้าน มูลนิธิ มหาวิทยาลัย เป็นต้น สัญลักษณ์ก็จะมีหลาบรูปแบบเช่น สัญลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นเจ้าของและสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความหมายทั้งไม่สื่อความหมาย สัญลักษณ์ที่ปรากฏบนผลิตภัณฑ์หรือ สัญลักษณ์บรรจุภัณฑ์เครื่องหมายบอกหรือเตือน เป็นต้น



อ้างอิงจาก : หนังสือ การออกแบบสัญลักษณ์ Logo Trade symbol, ผู้เขียน ทองเจือ เขียดทอง, พิมพ์ครั้งที่1 พ.ศ.2542 


_____________________________________________________________________



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น